ข้อมูลและเคล็ดลับเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

[ Update ] คุณสมบัติวิทยากรสอน จป และการ ดำเนินการฝึกอบรม 2565

by Javier Anderson
359 views
1.[ Update ] คุณสมบัติวิทยากรสอน จป และการ ดำเนินการฝึกอบรม 2565

โดยที่ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๔๓ กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร

ทั้งนี้ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรมจปให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔๓ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

หมวด ๑ หลักสูตรการฝึกอบรม

ข้อ ๒ หลักสูตร จป.หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๔ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน

(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(๓) หมวดวิชาที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงานและการจัดทำคู่มือว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การตรวจความปลอดภัย

(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

(ค) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุ

(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงาน

(๔) หมวดวิชาที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร

(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า

(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ

(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ

(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี

(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์

(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง

(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ข้อ ๓ หลักสูตร จป.บริหาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ระยะเวลาการฝึกอบรม สิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๓ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน

(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(๓) หมวดวิชาที่ ๓ ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน

(ข) ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

(ค) ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของมาตรฐานประเทศไทยและสากล

(ง) การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน

หมวด ๒ คุณสมบัติของวิทยากร

ข้อ ๔ วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชา ที่บรรยาย มีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าสามปี ทั้งนี้ การนับระยะเวลาห้าปีหรือสามปีดังกล่าวให้นับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

2.เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขา

(๒) เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขา ที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่บรรยาย และมีประสบการณ์การสอนด้านความปลอดภัยในการทำงาน ไม่น้อยกว่าสามปีนับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

(๓) เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาในการ เป็นวิทยากรฝึกอบรมที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากร ด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าสามปี ทั้งนี้ การนับระยะเวลาห้าปีหรือสามปีดังกล่าว ให้นับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

(๔) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และมีความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ หมวดวิชาที่บรรยาย ทั้งนี้ ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าสามปี

หมวด ๓ การจัดฝึกอบรมของผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม

ข้อ ๕ ผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรม ประสงค์ที่จะจัดฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และต้องได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่รับรองระบบบริหารงานคุณภาพ หรือ

(๒) สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ

(๓) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน และต้องมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ประเมิน ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา หรือ

(๔) เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

ข้อ ๖ ให้ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๕ ยื่นคำขอต่ออธิบดี พร้อมด้วย รายชื่อวิทยากร และเอกสารตามแบบ กภ.จป.นบ ๑ แนบท้ายประกาศนี้ ณ กองความปลอดภัยแรงงาน หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด

ข้อ ๗ เมื่อผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม ได้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพื่อขอรับรองหลักสูตร การฝึกอบรมและรายชื่อวิทยากรถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายออกหลักฐาน การรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมและรายชื่อวิทยากรของผู้ยื่นคำขอภายในหกสิบวัน การออกหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบ กภ.จป.นบ ๒ และออกได้คราวละ สามปีนับแต่วันที่ได้รับการรับรอง ในกรณีที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเห็นว่าผู้ยื่นคำขอขาดคุณสมบัติตามข้อ ๕ หรือเอกสารหรือหลักฐานตามข้อ ๖ ไม่ถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายแจ้ง ให้ผู้ยื่นคำขอทราบทันทีหรือภายในไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ หากผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไข หรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์ที่จะให้ดำเนินการ ตามคำขอต่อไป และให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ในกรณี เช่น นี้ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ส่งเอกสารคืนผู้ยื่นคำขอ พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

ข้อ ๘ การขอต่ออายุการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมและรายชื่อวิทยากรของผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรม ให้ยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่การรับรองจะสิ้นสุด และให้นำความในข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ มาใช้บังคับแก่การยื่นคำขอต่ออายุการรับรองโดยอนุโลม เมื่อยื่นคำขอต่ออายุการรับรองแล้ว ให้ผู้ได้รับการรับรองดำเนินการต่อไปได้จนกว่าอธิบดี จะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุการรับรองนั้น การต่ออายุการรับรองหลักสูตรให้มีอายุคราวละสามปีนับแต่วันที่การรับรองเดิมสิ้นสุด ข้อ ๙ ในกรณีที่เอกสารการรับรองสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ยื่นคำขอใบแทนการรับรองต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ดังกล่าว

ข้อ ๑๐ ในกรณีผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองตามข้อ ๗ มีการเปลี่ยนแปลง วิทยากร บุคลากรซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรม สถานที่ตั้ง หรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใด จากที่ได้ยื่นขอการรับรองไว้ ให้แจ้งเป็นหนังสือ พร้อมส่งเอกสารแสดงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

หมวด ๔ การดำเนินการฝึกอบรม

3. ให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม ดำเนินการจัดฝึกอบรมตามหลักสูตร

ข้อ ๑๑ ให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม ดำเนินการจัดฝึกอบรมตามหลักสูตร ในหมวด ๑ และจัดให้มีวิทยากรที่มีคุณสมบัติตามหมวด ๒

ข้อ ๑๒ ให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการ ดังนี้

(๑) กรณีนายจ้างให้แจ้งกำหนดการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม รายชื่อผู้เข้ารับ การฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร และเอกสารหรือหลักฐานตามข้อ ๑๒ (๘) ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดเพื่อให้ความเห็นชอบไม่น้อยกว่าสิบห้าวันท าการก่อนการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ อาจแจ้ง ด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ได้

(๒) กรณีผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมเป็นผู้จัดฝึกอบรม ให้แจ้งกำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร การฝึกอบรม รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร และเอกสารหรือ หลักฐานตามข้อ ๖ ณ กองความปลอดภัยแรงงาน ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการก่อนการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ อาจแจ้งด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ได้

(๓) จัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน

(๔) จัดให้มีคู่มือประกอบการฝึกอบรม จัดเตรียมอุปกรณ์ สื่อและเอกสารประกอบการฝึกอบรม และสถานที่ที่ถูกสุขลักษณะให้มีความพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่มีการดำเนินการ

(๕) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

(๖) จัดให้มีการประเมินผลทั้งก่อนและหลังการฝึกอบรม

(๗) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียด อย่างน้อย ดังนี้

(ก) ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง ” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง หลักสูตร เลขที่ …”

(ข) ชื่อและนามสกุลของผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม

(ค) ชื่อหลักสูตรที่ผ่านการฝึกอบรม ให้ระบุข้อความ ดังนี้ “หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ตามข้อ ๔๓ แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑๒ ชั่วโมง ” หรือ “หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ตามข้อ ๔๓ แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑๒ ชั่วโมง ” แล้วแต่กรณี

(ง) ระบุสถานที่ในการฝึกอบรม

(จ) ระบุวัน เดือน และปี ที่เข้ารับการฝึกอบรม

(ฉ) ลงนามโดยนายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม แล้วแต่กรณี

(๘) จัดให้วิทยากรได้รับการฝึกอบรมหรือมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง

ข้อ ๑๓ นอกจากดำเนินการตามข้อ ๖ แล้ว ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดทำค่าบริการที่กำหนดรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการให้บริการเสนอต่อผู้รับบริการ ก่อนการให้บริการ โดยค่าบริการที่ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมจะเรียกเก็บให้คำนวณจากค่าใช้จ่าย ในการให้บริการของผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมรวมกับค่าตอบแทนที่ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมได้รับจากการให้บริการ ซึ่งค่าตอบแทนดังกล่าวต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนค่าใช้จ่ายในการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ หมายความถึง ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในการให้บริการ เช่น ค่าตอบแทนบุคลากร ค่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือสถานที่ในการให้บริการ และค่าใช้จ่ายอื่นใดของผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรม

(๒) ไม่เปิดเผยความลับของผู้รับบริการซึ่งล่วงรู้หรือได้มาจากการให้บริการ

ข้อ ๑๔ ให้นายจ้าง หรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมส่งรายงานผลการฝึกอบรม รายชื่อผู้ผ่าน การฝึกอบรม และรายชื่อวิทยากร ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม ณ กองความปลอดภัย แรงงาน หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ตามแบบ กภ.จป.นบ ๓

ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม ฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และ

ข้อ ๑๔ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอาจเพิกถอนการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรม และรายชื่อวิทยากร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

แหล่งรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์และทันสมัยในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ในทุกๆวัน

ติดต่อ

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by  jordanhopfner