จากผลสำรวจพบว่า ในประเทศไทยมีอุบัติเหตุอัคคีภัยมากกว่าครึ่งที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือระบบการทำงานภายในอาคารขัดข้อง ในขณะที่ที่เหลือเกิดจาการวางเพลิง ภัยธรรมชาติ ดังนั้นเราจะเห็นได้เลยว่า อาคารต่าง ๆ นั้นจะต้องมีความปลอดภัยที่สูงมาก ๆ และมีการตรวจสอบซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อบังคับทางกฎหมายโดยตรง การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ก็เช่นกัน
วันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้รู้จักเกี่ยวกับ การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ สิ่งสำคัญที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้าม และคิดว่าอาจจะไม่สำคัญเท่าไหร่ แต่ใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด
ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ สำคัญอย่างไร ?
การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือ Fire alert system ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในทุก ๆ ภาคการทำงาน เพราะเรื่องของอัคคีภัยหลาย ๆ ครั้งเป็นเหตุสุดวิสัย ที่แม้ว่าจะตรวจสอบระบบอื่น ๆ มาดีแค่ไหนก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ไฟไหม้จากภัยธรรมชาติ ไฟฟ้าลัดวงจร แม้แต่การลอบวางเพลิง
ดังนั้น ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จึงถือเป็นสิ่งที่ช่วยในกรณีที่อาจจะไม่สามารถป้องกันเหตุเพลิงไหม้ได้ การอพยพผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่อยู่ใกล้ คือสิ่งที่จะช่วยลดโอกาสการสูญเสียไปได้อย่างมหาศาล นอกจากนี้ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หลาย ๆ ครั้งยังช่วยลดการก่ออาชญากรรม หรือการก่อการร้ายได้อีกด้วย
การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีอะไรบ้าง
การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ นั้นมีรายละเอียดที่ค่อนข้างซับซ้อนและสำคัญ เนื่องจากอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่มักเป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่มีความละเอียดอ่อนในการทำงาน ดังนั้นในการตรวจสอบแต่ละครั้ง จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ หรือนิติบุคคลที่ได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทนิติบุคคล และมาตรฐาน ISO 9001 เพื่อให้คุณไว้ใจได้ว่า การตรวจสอบจะถูกดำเนินงานโดยผู้ที่มีความรู้เชิงลึก และสามารถไว้วางใจได้ว่างานที่ออกมาจะเรียบร้อยไร้ปัญหาตามมาภายหลัง
หลัก ๆ แล้ว การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จะมีดังนี้
- การตรวจตู้ควบคุมสัญญาณ ทั้งสัญญาณไฟและสัญญาณเสียง รวมไปถึงการรับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับต่าง ๆ ก่อนที่จะส่งไปอุปกรณ์แจ้งเตือน
- การตรวจ Heat Detector หรือ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ที่จะตรวจจับความร้อนตามที่ได้กำหนดไว้ เมื่ออุณหภูมิถึงจุดหนึ่ง อุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม แล้วตู้ควบคุมจะส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์แจ้งเตือน
- การตรวจ Smoker Detector หรือ อุปกรณ์ตรวจจับควัน มีหลักการทำงานเดียวกับอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
- การตรวจ ปุ่มกดสัญญาณ ในหลาย ๆ ครั้งที่ detector ต่าง ๆ อาจจะไม่สามารถตรวจจับพื้นที่โดยรอบอาคารได้อย่างทั่วถึง ดังนั้น ปุ่มกดสัญญาณ จะต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลา ในกรณีที่ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงพบเห็นเหตุการณ์จะได้กดสัญญาณได้ทันท่วงที
- การตรวจ กระดิ่งแจ้งเหตุ ที่จะทำงานก็ต่อเมื่อ detector ต่าง ๆ ตรวจพบความร้อนหรือควัน จากนั้น detector จะส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุมสัญญาณ แล้วตู้ควบคุมสัญญาณจะส่งสัญญาณมาให้ กระดิ่งแจ้งเหตุ ทำงาน โดยจะต้องตรวจสอบให้เสียงดังฟังชัด ทำงานอย่างทันท่วงที และรับสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ
โดย ผู้รับ การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ บางเจ้า อาจจะมีบริการเพิ่มเติม เช่น ซ่อมแซม ทำความสะอาด ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติม
ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- ปุ่มกดสัญญาณทำงานผิดปกติ อาจจะชำรุด กดไม่ติด กดแล้วไม่มีสัญญาณดัง มักจะเกิดจากสปริง หรือการส่งสัญญาณไม่ทำงาน
- สัญญาณดังเองอย่างไม่มีเหตุผล ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการที่ตู้ควบคุมสัญญาณทำงานผิดปกติ
- สัญญาณแจ้งเตือนทั้งไฟและเสียงไม่ทำงาน อาจจะต้องมีการตรวจสอบตัว detector ว่าสามารถตรวจจับควันและความร้อนได้หรือไม่ และตรวจสอบบริเวณตู้ควบคุมสัญญาณว่าส่งสัญญาณได้ปกติหรือไม่ หากตรวจพบแล้วไม่มีปัญหาอะไร ปัญหาอาจจะอยู่ที่ตัวส่งสัญญาณเสียงและไฟ
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยมาก ๆ อาจจะดูเป็นปัญหาเล็ก แต่ความจริงแล้วอาจจะมีโอกาสส่งผลถึงชีวิตของผู้คนได้เลย ดังนั้นอย่าลืมที่จะจัดให้มี การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อความปลอดภัยอย่างยั่งยืน